ทำแบบทดสอบบนเว็บไซต์ด้านล้างได้เลยครับ
วิชาคอมพิวเตอร์ ช่วงชั้นที่ 2 ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น จำนวน 20 ข้อ คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
แบบทดสอบก่อนเรียน วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
มาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
นักเรียนชั้น ม.5 วิชาที่นักเรียนจะได้รับความรู้เรื่องเกี่ยวกับฐานข้อมูล ระบบ DBMS ตลอด 2 เทอม โดยในเทอมที่ 1 นะเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลเบื้องต้น ส่วนประกอบของฐานข้อมูล การสร้างฐานข้อมูล การสร้างตาราง และการสร้างแบบสอบถามเบื้องต้น ส่วนในเทอมที่ 2 นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการสร้างแบบสอบถามชนิดต่าง ๆ การสร้างฟรอร์ม การสร้างรายงาน ฯลฯ โดยคะแนนเก็บในแต่ละเทอม นั้นจะเก็บ 60 คะแนน สอบกลางภาค 20 คะแนน และสอบปลายภาค 20 คะแนน รวมแล้ว 100 คะแนน/เทอม ..
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
คอมคืออะไร
คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบัน แทบทุกวงการล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้งาน จนกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการเรียนรู้เพื่อทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์จึงถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง |
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555
ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) โดยมีการเรียกซ้ำแบบเดียวกับคำว่า ไวรัส ในตัวสิ่งมีชีวิต แต่เป็นคำเรียกแบบย่อของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการใดๆก็ตามเท่าที่โปรแกรมถูกเขียนขึ้นมาเพื่อการใดการหนึ่งทั้งที่มีประโยนช์ทางการทำงานตามผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมา
ข้อมูล
ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
[แก้]คำจำกัดความ
ไวรัสเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถแพร่ขยายตัวเองได้ วิธีการในการจำแนกว่าส่วนของโปรแกรมนั้นเป็นไวรัสหรือไม่ นั้นดูจากการที่โปรแกรมสามารถแพร่กระจายตัวได้โดยผ่านทางพาหะ (โฮสต์)
บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนำพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น
เนื่องจากไวรัสในปัจจุบันนี้ได้อาศัยบริการเครือข่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล และระบบแฟ้มข้อมูลร่วมในการแพร่กระจายด้วย จึงทำให้ความแตกต่างของไวรัสและเวิร์มในปัจจุบันนั้นไม่ชัดเจน
ไวรัสสามารถติดพาหะได้หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ แฟ้มข้อมูลที่สามารถปฏิบัติการได้ของซอฟต์แวร์ หรือส่วนระบบปฏิบัติการ ไวรัสยังสามารถติดไปกับบู๊ตเซคเตอร์ของแผ่นฟลอปปีดิสก์ แฟ้มข้อมูลประเภทสคริปต์ ข้อมูลเอกสารที่มีสคริปต์แมโคร นอกเหนือจากการสอดแทรกรหัสไวรัสเข้าไปยังข้อมูลดั้งเดิมของพาหะแล้ว ไวรัสยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมในพาหะ และอาจทำการแก้ไขให้รหัสไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานเมื่อพาหะถูกเรียกใช้งาน อันที่จริงไม่ใช่
[แก้]ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
[แก้]บูตไวรัส
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
[แก้]ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น
[แก้]หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น
[แก้]อื่นๆ
[แก้]โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
[แก้]ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ
ต้นปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"
ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้
ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา
ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club"
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า)
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเข้าไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรั
ข้อมูล
ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
คำจำกัดความ
ไวรัสเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถแพร่ขยายตัวเองได้ วิธีการในการจำแนกว่าส่วนของโปรแกรมนั้นเป็นไวรัสหรือไม่ นั้นดูจากการที่โปรแกรมสามารถแพร่กระจายตัวได้โดยผ่านทางพาหะ (โฮสต์)
บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนำพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น
เนื่องจากไวรัสในปัจจุบันนี้ได้อาศัยบริการเครือข่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล และระบบแฟ้มข้อมูลร่วมในการแพร่กระจายด้วย จึงทำให้ความแตกต่างของไวรัสและเวิร์มในปัจจุบันนั้นไม่ชัดเจน
ไวรัสสามารถติดพาหะได้หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ แฟ้มข้อมูลที่สามารถปฏิบัติการได้ของซอฟต์แวร์ หรือส่วนระบบปฏิบัติการ ไวรัสยังสามารถติดไปกับบู๊ตเซคเตอร์ของแผ่นฟลอปปีดิสก์ แฟ้มข้อมูลประเภทสคริปต์ ข้อมูลเอกสารที่มีสคริปต์แมโคร นอกเหนือจากการสอดแทรกรหัสไวรัสเข้าไปยังข้อมูลดั้งเดิมของพาหะแล้ว ไวรัสยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมในพาหะ และอาจทำการแก้ไขให้รหัสไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานเมื่อพาหะถูกเรียกใช้งาน อันที่จริงไม่ใช่
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
บูตไวรัส
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น
หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น
อื่นๆ
โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ
ต้นปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"
ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้
ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา
ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club"
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า)
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเข้าไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรั
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
blogger คืออะไร
Blogger คืออะไร?
Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้
Webblog กับ Website ต่างกันอย่างไร
- Website ต้องมี Domain Name และ Hosting เป็นของตนเอง และเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Webblog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ Webblog นั้น ๆ อยู่ในชื่อ domain ของเราด้วย เช่น http://ninetechno.blogspot.com เป็นต้น
- Website คุณสามารถสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ได้เองมีความยืดหยุ่น ส่วน Webblog นั้นมี template ให้เลือก โดยการเขียน blog ก็จะมีโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนัก
- Website หากคุณต้องการเขียนเองต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษาอยู่พอสมควร แต่ Webblog คุณเพียงแค่เรียนรู้การใช้งานเล็กน้อยคุณก็สามารถใช้งานได้
Webblog ทำอะไรได้บ้าง
- ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
- เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
- หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
- ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้อยู่บ้างครับ
รายละเอียดคร่าว ๆ พอเข้าใจเกี่ยวกับ Blogger กันแล้ว บทความต่อ ๆ ไปเราจะมาดูวิธีการใช้งานกันครับ
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
โครงการห้องคอมในฝัน
มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการ “โครงการคอมพิวเตอร์ทั่วไทย” มาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความประสงค์ที่จะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนแก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนที่ด้อยโอกาส เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการเรียนรู้ ช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆให้แก่เด็กและเยาวชน ในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในสังคมชนบทให้ทัดเทียมกับสังคมเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศในอนาคต
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มูลนิธิฯ จะบริจาคให้กับโรงเรียนในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ มูลนิธิฯจึงได้จัด “โครงการห้องคอมในฝัน” เพื่อให้ห้องคอมพิวเตอร์ตามโรงเรียนต่างๆ สามารถใช้งาน และเป็นสื่อในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุด โดยมูลนิธิจะสำรวจ “ห้องคอมพิวเตอร์” ในแต่ละโรงเรียนและส่งทีมอาสาสมัครไปดำเนินการปรับปรุงเป็นรายๆไป โดยเริ่มตั้งแต่การจัดการในเรื่องของการจัดหาโต๊ะ เก้าอี้สำหรับวางเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดการกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น จอคอมพิวเตอร์ เครื่องชีพียู เครื่องปริ้นเตอร์ ฯลฯ รวมถึงจัดการในเรื่องระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน เช่น การเดินสายLan การเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต และซ่อมแซม แก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ให้กลับมาใช้งานได้
สำหรับโรงเรียนต่างๆ ที่ได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์จากทางมูลนิธิฯ แล้ว อาจจะขาดความเชี่ยวชาญในเรื่องการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และการจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต ทางมูลนิธิฯ จึงจัดทำ “โครงการห้องคอมในฝัน” ขึ้น เพื่อประโยชน์อย่างแท้จริงต่อโรงเรียนต่างๆ ที่ได้รับการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์จากทางมูลนิธิ
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555
ห้องคอมพิวเตอร์
ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในกิจการต่างๆอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์จึงนับว่ามีความสำคัญ เยาวชนรุ่นใหม่ที่ไม่มีความรู้ทาง ด้านคอมพิวเตอร์ จะเป็นผู้อยู่ในสังคมอย่างเสียเปรียบ
ทางโรงเรียนจึงเห็นสมควรว่า ควรเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงได้ร่วมกับนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทบางกอกซอฟแวร์จำกัด ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์
ทางโรงเรียนมีจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ดังนี้
· สร้างความคุ้นเคยในการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะสามารถเข้าสู่สังคมยุคอุตสาหกรรมในอนาคต
· ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการฝึกทักษะทางวิชาการให้กับนักเรียนในระดับอนุบาล และประถมศึกษาตอนต้น
· เพื่อใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน
· เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักทำงานอย่างมีหลักการและเป็นระบบ
· สร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับความพร้อม และวุฒิภาวะของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานและไม่เกินความสามารถของผู้เรียน
· ใช้เป็นสื่อในการพัตนาความคิดของผู้เรียนในด้านการแก้ปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ วิทายาศาสตร์ และ ภาษา
· เสริมทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการใช้งานในชีวิตประจำวัน ในระดับมัธยมศึกษา อาทิเช่น พิมพ์เอกสาร การจัดการฐานข้อมูล การใช้ตารางการทำงาน และการพิมพ์ดีดแบบสัมผัสด้วยคอมพิวเตอร์
· สอดแทรกความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานให้กับผู้เรียน โดยสอดคล้องกับวุฒิภาวะและความพร้อมของผู้เรียนเป็นสำคัญ
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1. จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ
จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron
ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
2. เคส (Case)
เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
เคส (case)
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
Power Supply
Power Supply
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
Keyboard
Keyboard
5. เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
Mouse
6. เมนบอร์ด (Main board)
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
Mainboard
Mainboard
7. ซีพียู (CPU)
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
CPU
8. การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
Display Card
หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
9. แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
SDRAM
DDR-RAM
RDRAM
โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM
10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
Harddisk แบบ IDE
IDE Cable
- SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
Harddisk แบบ SCSI
SCSI controller
- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
Harddisk แบบ Serial ATA
Serial ATA Cable
11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk
CD-ROM
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
CD-ROM
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
Floppy Disk Drive
ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
Floppy Disk Drive
ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)